สรุปข้อกฎหมายที่ถูกตราในพระราชกำหนดดังต่อไปนี้
พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ตามกฎหมายฉบับนี้ Cryptocurrency หรือเขียนเป็นไทยว่า
"คริปโทเคอร์เรนซี" คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีความประสงค์ที่จะใข้เป็น "สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน" เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิใดๆ หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล
ส่วน Token Digital หรือ "โทเคนดิจิทัล" หมายถึง หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ "กำหนดสิทธิ" ของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการ หรือกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง
Cryptocurrency ก็คือ เงินคริปโทฯ เช่น เงิน Bitcoin เงินthereum เงิน Ripple ฯลฯ ส่วน Utilities Token, Securities To และ Equity Token ก็จัดเป็น "โทเคนดิจิทัล"
โดยทั้ง Cyptocurrency และ Token Digital สามารถเรียกรวมกันได้ว่า "สินทรัพย์ดิจิทัล" คำว่า "ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" หมายความถึงผู้ที่จะประกอบกิจการหรือทำธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ได้แก่
- เป็นสถานประกอบการเพื่อ Exchange (เช่น เว็บไซต์ Bitkub.Satong Pro, ZIPMEX) เป็น Broker หรือนายหน้า คือผู้ที่ประกาศตัวว่าเป็นตัวแทนรับซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล
- เป็น Dealer หรือผู้ขายเงินคริปโทฯ หรือโทเคน เช่น ทำเว็บไซด์ที่รับเงินจากบัตรเครดิตหรือให้คนโอนเงินมาแลก Cryptocurrency และอะไรอื่นๆ ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในข้อนี้ในส่วนของ Crypto Credit Card จะไม่รวมในกฎหมายนี้ เพราะจัดอยู่ในส่วนของ E-Payment/E-Walet Provider ซึ่งจะถูกกำกับดูแลโดยพระราชบัญญัติระบบชำระเงิน (ใช้กฎหมายคนละฉบับ)
"ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล" ก็คือผู้ที่มีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองผู้ออก ICO และตัว ICO และตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และร่างหนังสือชวน (หรือทำหน้าที่เป็น IB (Introducing Broker) ในโลก ICOซึ่งในร่างพระราชกำหนดของ ก.ล.ต. จะเรียกผู้ที่ทำสิ่งนี้ว่า ICO Portal
กฎหมายฉบับนี้จะแสดงว่า อะไรบ้างที่เข้าข่ายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ เช่น พวกตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หุ้น หน่วยลงทุนนั้น ไม่ถูกนับว่าเป็น Cyptocurrency หรือ Digital Token
หากในอนาคต ก.ล.ต. ออกกฎว่าให้ Securitles Token และEquity Token ถือเป็นหลักทรัพย์ ก็อาจจะทำให้ Token 2 ประเภทนี้หลุดจากการกำกับด้วยกฎหมาย Crypto นี้ แล้วไปถูกกำกับด้วยกฎหมายหลักทรัพย์ได้ทันที หรือในทางกลับกัน ก.ล.ต. ก็สามารถจะออกกฎให้หลักทรัพย์สามารถใช้กระบวนการดิจิทัลภายใต้กฎนี้ได้ด้วย
ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และ ICO porial ถือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นั่นแปลว่าต้องทำตามและต้อง "รับผิด" ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
หากบุคคลเหล่านี้จะทำธุรกรรมหรือรับค่าตอบแทนเป็นเงินสกุลCryptocurency ก็ต้องเป็น Crypto ที่ได้มาจากการผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เพื่อกันการฟอกเงินหรือหลบเสี่ยงภาษี โดยไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้