สินทรัพย์ดิจิทัล Digital Asset
เราได้เหรียญดิจิทัลมาเก็บไว้ เรียกว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่คนยุคนี้เริ่มให้ความสนใจอย่างมาก ว่าจะเก็บรักษาสิ่งที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตเหล่านี้แล้วเพิ่มมูลค่ามันได้อย่างไร
คำว่า Digital Asset นั้นจริงๆ มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น Facebook Fanpage หรือ Website ที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ก็นับได้ว่าเป็น Asset อย่างหนึ่งที่มีการเพิ่มมูลค่าได้
หากเพจใดก็ตามที่มีคนติดตามเยอะ มีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ สามารถขี้นำสังคม หรือสร้างแรงกระเพื่อมบางอย่าง ให้เกิดความเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว และเป็นวงกว้างเพจนั้นก็จะมีมูลค่าสูง ซึ่งก็สามารถซื้อขายเพจกันได้ ถ้าทั้งสองฝ่ายคือผู้สร้างเพจหรือผู้ครีเอตคอนเทนต์ และผู้ซื้อสามารถตกลงราคากันได้
แต่สำหรับ Digital Asset ในรูปแบบของคริปโทเคอร์เรนชีนั้นกลับยังไม่มีคำตอบที่แน่ขัดมากนัก ยิ่งการพุ่งขึ้นอย่างมากของ BTC ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมาจนราคาพุ่งทะลุ 1.5 ล้านบาทต่อ BTC ทำให้เกิดความสงสัยว่าเป็นการจินตนาการมูลค่าขึ้นมเป็นสิ่งที่มีมูลค่าพื้นฐานจริง แล้วเก็งกำไรกันไปเรื่อยๆ กันแน่
ในหลักของวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น สินทรัพย์เชิงมูลค่าจะมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่
a. Capital Asset
สินทรัพย์ประเภทที่สร้างรายได้ให้กับผู้ถือครองได้ เช่น หุ้นที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ มูลค่าของมันก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการคาดการณ์ว่าสินทรัพย์นั้นจะสร้างมูลค่า "ในอนาคต" ได้มากแค่ไหนเช่น ที่ดินเปล่าแปลงหนึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทันทีหากมีโครงการจะสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ขึ้นใกล้เคียงกับที่ดินผืนนั้น หรือหุ้นของบริษัทแห่งหนึ่งที่เปิด IPO ออกไปก่อนเข้าตลาด แล้วแนวโน้มในการประกอบธุรกิจจะมีผลกำไรดีในอนาคต จนสามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ ก็อยู่ในกลุ่มนี้
b. Consumable Asset
สินทรัพย์ที่นำมาใช้บริโภคหรืออุปโภคได้ เช่น น้ำมัน เป็นตัวที่เห็นได้ชัด ยิ่งความต้องการใช้น้ำมันในตลาดมีมากเท่าไร มูลค่าก็จะเพิ่มขึ้นมากตามสัดส่วน เพราะธรรมชาติของน้ำมันเป็นทรัพมีอยู่จำกัด ใช้แล้วหมดไป หากเราคิดจะลงทุนในน้ำมัน เราก็พอ
เห็นมูลค่าในอนาคตของมันได้จากหลายเหตุและหลายปัจจัย
c. Store of Value Asset
เป็นสินทรัพย์ที่ใช้รักษามูลค่า แม้ว่าจะไม่สามารถนำไปสร้างรายได้หรือใช้บริโภคได้ เช่น งานศิลปะที่มีชื่อเสียง ของเก่าหายากต่างๆ จะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน คือมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก "การยอมรับในโลกสากล"
ตราบใดที่คนยังให้คุณค่ากับสิ่งนั้น มูลค่าของมันก็จะยังไม่หายไปเก็บรักษาได้ในระยะยาว ไม่สามารถไปทำเพิ่ม หรือผลิตใหม่ออกมาได้ง่ายๆ อย่างเช่น งานศิลปะของแวนโก๊ะ ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่และเขียนภาพได้ ภาพของเขาแทบไม่มีราคา แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคนมาศึกษาภาพของเขา และได้ทราบเรื่องราวที่มาที่ไป มีการให้คุณค่าภาพมากขึ้น ยิ่งเวลานานผ่านไปเท่าใดภาพของเขาก็ยิ่งมีราคาสูงมากขึ้นไปเรื่อยๆ
แล้วเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin จะอยู่ใน Asset ประเภทไหน
เหรียญดิจิทัลอย่าง Bicoin นั้นมีมูลค่าจากการโอนย้ายไปมา การขุดสร้างใหม่ขึ้นมา และมีการจ่ายค่าธรรมเนียมในการบันทึกลงบน Bicoin บล็อกเช่น หรือใช้เป็นรางวัลให้แก่ผู้ดูแลระบบการขุดบิดคอยน์ดังที่ได้กล่าวไป หากถือไว้เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้มีรายได้ หรือเกิด Cash Flow จึงไม่อาจจัดอยู่ในประเภทของ Capital Asset
คุณสมบัติของ Bitcoin จะถูกใช้เป็นค่าใข้จ่ายเพื่อให้ระบบ บล็อกเชนของบิตคอยน์ ทำงาน ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ขึ้น คนที่ขุดหรือได้เหรียญมาจะได้ค่าธรรมเนียมจากการส่งเหรียญเต็มจำนวนโดยที่ไม่มี BIC หายไปจากระบบ
เมื่อมีความต้องการใช้ Bitcoin Blockchain มากขึ้น คนใช้ BIC จะต้องไปซื้อหรือหา BIC มาจ่าย ในเมื่อพื้นที่ในการทำธุรกรรมในแต่ละบล็อกจำกัด และเกิดขึ้นทุกๆ 10 นาทีเท่านั้น ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องแย่งพื้นที่กัน เพื่อให้ธุรกรรมของคนคนนั้นผ่านไปได้ โดยแข่งกันจ่ายค่ Feesที่แพงขึ้น หรือต้องจ่าย BIC ออกไปในปริมาณที่มากขึ้น ยิ่งจ่ายค่ Feesมากขึ้น โอกาสส่งไปก็เร็วขึ้นและยิ่งทำให้เหรียญแพงขึ้นด้วยประเภทไหน?"
ในช่วงแรกที่ BTC เกิดขึ้น นักขุดจะได้ผลตอบแทนเป็น B TC ที่น่าดึงดูดใจพอสมควร โดยมีสัดส่วนในการขุดค้นดังนี้
1. ใน 10 นาที จะมี BTC เกิดใหม่ 50 หน่วย
2. ใน 1 ชั่วโมง จะมี BTC เกิดใหม่ 300 หน่วย
3. ใน 1 วัน จะมี BTC เกิดใหม่ 7,200 หน่วย
4. ใน 1 ปี จะมี BTC เกิดใหม่ 2.6 ล้านหน่วย
แต่ทว่าหากปล่อยไว้ให้เป็นแบบนี้ BTC ก็จะไม่มีมูลค่าอะไร เนื่องจากยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งมีการขุดและถอดรหัสเจอได้เรื่อยๆ ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้สร้าง BTC จึงกำหนดให้มีอัตราการเกิดใหม่ที่ช้าลงโดยวิธีการ "ลดครึ่งผลตอบแทน" เรียกว่า "Halving"การทำ Halving ก็คือการที่นักขุดจะได้รางวัลจากการขุดBTC ลุดลงครึ่งหนึ่ง จากเดิม 10 นาทีมี BTC เกิดใหม่ 50หน่วย ก็จะเหลือแค่ 25 หน่วย พอเกิดการเจอก็จะมีลดครึ่งหนึ่งลงอีก เหลือแค่ 12.5 หน่วย
ตอนที่ BTC บล็อกแรกเกิดขึ้นมาในปีค.ศ. 2009 ทุกๆ 10 นาทีจะเกิดขึ้น 1 บล็อก 1 บล็อกนั้นจะมี BTC เกิดขึ้นใหม่ 50 หน่วย โดยทุกๆ 210,000 บล็อก จะเกิดกระบวนการ Halving แปลว่า ต้องเอา 10 นาทีคูณกับ 210,000 บล็อก ก็จะกินเวลาโดยประมาร 4 ปี
นับแต่ BIC เกิดขึ้นมาในโลกนี้ มีการทำ Having ไปแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อ 28 พฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ในทุกๆ 1 บล็อกจะมี BIC เกิดขึ้น 25 หน่วย
ครั้งที่ 2 เมื่อ 9 กรกฎาคม ปีพ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ในทุกๆ1 บล็อกจะมี BIC เกิดขึ้น 12.5 หน่วย
ครั้งที่ 3 เมื่อ 12 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ในทุกๆ1 บล็อกจะมี BIC เกิดขึ้น 6.25 หน่วย
นั่นหมายความว่า นับแต่นี้ต่อไปจนกระทั่งปีค.ศ. 2024 นั้นจะมี Bicoin ที่เกิดใหม่ต่อวันอยู่ที่ราวๆ 900 BIC เท่านั้น หลังจากการ Haiving ครั้งที่ 3 ไปแล้วจะทำให้เราพอจะบอกได้ว่าแต่ละวัน BIC ถูกพบน้อยลง ขณะที่ความต้องการกลับมากขึ้นเรื่อยๆ จึงส่งผลให้ BIC มีราคาที่แพงมากยิ่งขึ้นตามหลักของเศรษฐศาสตร์
ดังนั้นยุคการจ่ายรางวัล ครั้งที่ 4 ของ Bitcoin นี้จะกินเวลาจาก บล็อกที่ 630,000 บนเครือข่ายไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงบล็อกที่ 840,000ซึ่งจะตรงกับช่วง ปีพ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) ซึ่งครั้งต่อไปนั้นการเกิด Bitcoin ต่อบล็อกใหม่นั้นจะเหลืออยู่แค่ 3.125 BIC เท่านั้น ทำให้มันหายากมากขึ้นไปอีก
จากสถิติในครั้งที่ผ่านๆ มาหลังจากการ Having แล้ว จะพบว่าBTC ได้มีราคาที่ขยับแบบก้าวกระโดดไปอย่างมาก โดยที่การ Halving แต่ละครั้งไม่มีครั้งไหนเลยที่ราคา Bitcoin ร่วงต่ำลง
และทกทุกอย่างเป็นไปตามที่ผู้สร้างBTC ได้คำนวณเอาไว้จำนวนเหรียญ B1C ที่จะถูกขุดครบเหรียญที่ 21 ล้านก็จะเกิดขึ้นได้ในปีพ.ศ. 2683 (ค.ศ. 2140) หรืออีก 119 ปีข้างหน้า
ผู้เชี่ยวขาญด้าน Crptocurrency อย่าง นาย Sonny Singh CEO ของบริษัทด้านการชำระเงินด้วย Cryptocurrency ระดับโลก BIPOy เคยกล่าวว่า ราคาของ Bitcoin นั้นมีโอกาสพุ่งทะลุจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 20000 ดอลลาร์ได้ภายในปีค.ศ. 2020 ซึ่งจุดสูงสุด ดังกล่าวนั้นถือเป็นจุดที่ราคา Bitcoin เคยทำไว้ได้เมื่อตอนปลายปีค.ศ. 2017 หรือประมาณ 1 ปีกว่าหลังการ Halving ครั้งที่ 2
แต่เมื่อหันไปมองราคาของ BIC เมื่อช่วงต้นปีค.ศ. 2021 ราคาของBIC กลับพุ่งไปแตะที่ช่วงราคา 50,000 เหรียญแล้ว โดยทำนิวไฮอยู่ที่58,000 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021
นั่นแปลว่า BTC จึงถูกนับให้เป็นทรัพย์สินในหมวด Store of Value Asset เพราะยิ่งผ่านไปนานมันก็ยิ่งแพงขึ้น
*ลักษณะพิเศษของ BIC ยังเป็นสกุลเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางใดๆเป็นอิสระจากระบบนาคารกลาง และเก็บได้เองอย่างปลอดภัยไม่ต้องพึ่งตู้เซฟ นั่นทำให้มูลค่าของ BIC เพิ่มขึ้น และเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าเมื่อถือเอาไว้ถัดจากทองคำ
เหรียญ Cryptocurency ปัจจุบันมีกว่า 4,000 ชนิดเหรียญ แต่ในจำนวนเหรียญเหล่านี้มีเพียงสกุลเงิน Cyptocurrency เพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นที่นิยมในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และนำไปเก็งกำไร โดยสกุลเงิน Cyptocurrency ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกก็คือ Bitcoln (มีชื่อย่อว่า BTC)
โดยคุณสามารถเข้าไปดูแหล่งข้อมูลมูลค่าเหรียญได้ที่ https:/coinmarketcap.com/ ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจและเห็นภาพได้มากขึ้นว่าสกุลเงินดิจิทัลในโลกนี้มีอีกเป็นจำนวนมากที่มีมูลค่ายังไม่สูงมากและเราพอจะสามารถเข้าถึงเพื่อการซื้อเก็งกำไรได้ หรือจะเก็บในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลก็ได้
*เพียงแต่เราต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า เหรียญ Cryp-tocurrency แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเหมาะหรือไม่ที่จะนำไป ซื้อขายเก็งกำไร หรือนำไปลงทุนให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา